Wednesday, August 14, 2013

What's NAS? NAS (Network Attached Storage)

What's NAS?



NAS (Network Attached Storage)

ใน ปัจจุบันนอกจากไฟล์เอกสารที่มีแต่ข้อความแล้วยังมีไฟล์รูปภาพกราฟิก หรือแม้แต่ข้อมูลวิดีโอซึ่งต้องการใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ จำนวนมาก วิธีแก้ทางหนึ่งก็คือการใช้ Network-Attached Storage (NAS) ในระบบเน็ตเวิร์กภายในองค์กร Network-Attached Storage (NAS) เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์เก็บข้อมูลให้กับเน็ตเวิร์กขององค์กร
สถาปัตยกรรม การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม โดยมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเชื่อมต่อโดยตรงเข้าไปที่อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Ethernet Switching Hub ประกอบด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับระบบ เครือข่าย IP รูปแบบการเชื่อมต่อลักษณะนี้ จะสนับสนุนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย IP สามารถ Access หรือเข้าถึงเพื่อใช้งาน NAS ในระดับของแฟ้มข้อมูล การส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์จัดเก็บเป็นการวิ่งบนระบบเครือข่าย LAN และเนื่องจากระบบนี้มีการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ทั่วไปและเป็นที่รู้จัก ดังนั้นจึงสามารถบริหารจัดการได้ง่าย โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายสามารถจะดูแลได้โดยได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการ จัดเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐานก็เพียงพอแล้ว ส่วนคุณประโยชน์อีกประการหนึ่งก็คือความยืดหยุ่น เนื่องจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยตรง ทำให้การติดตั้งทำได้ง่าย แต่ข้อเสียคือ หากมีปริมาณการดึงข้อมูลออกมาจากอุปกรณ์จัดเก็บมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อ ประสิทธิภาพของเครือข่าย เว้นเสียแต่ว่าเครือข่ายดังกล่าวมีประสิทธิภาพความเร็วสูง




การทำงานของ NAS

NAS นั้นเปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอ็นต์ หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโพรโตคอลเช่น TCP/IP และผ่านทางแอพพลิเคชันเช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) ทำให้ไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์กสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ และการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่ภายในไคลเอ็นต์อยู่แล้ว โดยโครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว

แสดงโครงสร้าง Network Attached Storage (NAS)


NAS จะส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย โดย LAN / WAN จะมีการบังคับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ให้แตกออกเป็นชิ้นย่อยในการส่ง ดังนั้นจำนวนแพ็กเก็ตยิ่งมากเท่าไรก็จะใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้นนั่นเอง จึงไม่เหมาะที่จะไว้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้ NAS แบ็กอัพไดเรกทอรีหรือฮาร์ดดิสก์ของไคลเอ็นต์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสำรองข้อมูลที่ลดความเสี่ยงใน การสูญเสียข้อมูลให้น้อยลง


การพัฒนาเทคโนโลยี ที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ อย่าง SAN กับ NAS นั้น ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้งานกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยที่ SAN พัฒนาเพื่อใช้กับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ปริมาณมากๆ แต่มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลสูง ส่วน NAS กลับได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ต้องเข้าถึงในระดับไฟล์เป็นจุด สำคัญแทน ดังนั้นในองค์กรขนาดใหญ่ เทคโนโลยี SAN และ NAS จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากเนื่องจากสามารถอำนวยความสะดวกและสร้างความยืดหยุ่น มากกว่าในการดูแลและเข้าถึงตัวข้อมูล

SAN และ NAS

ต่าง เป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Access Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดมากมายให้ก่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บ ข้อมูลมากกว่า เทคโนโลยีทั้งมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโพรโตคอล อย่างไฟเบอร์ออปติกโพรโตคอลสำหรับ SAN และ TCP/IP สำหรับ NAS ในขณะที่ SAN ออกแบบเพื่อรองรับแอพพลิเคชันที่หลายหลาย ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์แบบ NAS ด้วย แต่ NAS กลับใช้ข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลระดับไฟล์มากกว่า


พื้นฐานของ SAN และ NAS


โดย พื้นฐานของเทคโนโลยี Storage Area Networks (SAN) และ Network Attached Storage (NAS) นั้นถูกออกแบบให้ใช้สำหรับทดแทนระบบการเชื่อมต่อแบบเดิมที่มีข้อจำกัดมากมาย ทั้งด้านความเร็วการเข้าถึง ความถูกต้องของข้อมูล หรือพื้นที่การจัดเก็บ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งานข้อมูลจากศูนย์ ข้อมูล ผลของการออกแบบเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้สามารถ ควบคุม ดูแล ตลอดจนการจัดการใช้ข้อมูลร่วมกัน และยังลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงได้ด้วย

จุดแข็งของ SAN

จาก ที่โครงสร้าง SAN นั้นถูกออกแบบมาให้รองรับกับระบบงานที่มีขนาดใหญ่ที่มีการขยายตัวของปริมาณ ข้อมูลสูง รองรับการทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน เจ็ดวันต่อสัปดาห์ หากเป็นระบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเก่า ถ้ามีขนาดพื้นที่เก็บข้อมูลไม่เพียงพอแล้วจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์จัด เก็บข้อมูลอีกนั้น ผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องปิดเซิร์ฟเวอร์ก่อนแล้ว จึงติดตั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเข้ากับเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ รู้จัก แต่ใน SAN เราสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ใหม่เข้าไปในระบบได้ทันที โดยที่ไม่ต้องปิดเซิร์ฟเวอร์ก่อน เพียงติดตั้งอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแล้วต่อเข้ากับพอร์ตไฟเบอร์ออปติกสวิตซ์ เซิร์ฟเวอร์จะค้นหาอุปกรณ์ใหม่โดยอัตโนมัติ ทำให้ระบบของคุณสามารถที่จะทำงานได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องปิดระบบ
การ ดูแลควบคุมก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญของระบบ ในระบบ DAS เดิมการที่จะดูแลโดยผ่านระบบศูนย์กลางนั้นเป็นเรื่องที่จะกระทำได้ยาก หากมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก โครงสร้าง SAN จะช่วยให้สามารถดูแลผ่านระบบศูนย์กลางซึ่งจะเป็นทำให้ลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก ในส่วนของระบบการดูแลด้วยการใช้เทคโนโลยีไฟเบอร์แชนแนล SAN สามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่เป็นบล็อกได้ด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำให้เราสามารถสำรองข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และด้วยการใช้ไฟเบอร์แชนแนลสวิตซ์นี้เอง ทำให้ SAN มีความสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยระยะทางที่ไกลมากขึ้น และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้มากกว่าเดิมทุกวันนี้มีการใช้ SAN เพิ่มมากขึ้นโดยอาจจะถูกใช้คู่ร่วมกับ NAS ซึ่งช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นมีระบบ NAS มากมายที่มีการใช้ SAN ซ่อนอยู่ภายใน ข้อได้เปรียบของ SANข้อได้เปรียบหรือข้อดีของ SAN นั้นคือการปรับปรุงความสามารถทางด้านของความน่าเชื่อถือและทางด้านการขยาย ขนาดข้อมูลขององค์กร การสำรองข้อมูล หรือการกู้คืนข้อมูล SAN นั้นสามารถที่จะสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลด้วยเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจะลดความหนาแน่นของข้อมูลภายในเน็ตเวิร์กได้เป็นอย่างดี เป็นการใช้แบนด์วิดธ์ในระบบแลนที่ถูกต้อง SAN สามารถทำงานข้ามระบบ MAN (Metropolitan Area Network) และเมื่อใช้งานร่วมกัน จะทำให้สามารถเชื่อมต่อได้ไกลถึง 150 กิโลเมตร โดยจะแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์โดยตรงออก ซึ่งทำให้เกิดการแยกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลออกจากเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นสามารถเพิ่มอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้โดยที่ไม่ต้องปิดระบบ และดูแลรักษาระบบแยกจากกันได้ไม่มีปัญหา


จุดแข็งของ NAS


NAS จะใช้ได้ดีกับองค์กรที่ต้องการส่งไฟล์ไปกับหลายๆ ไคลเอ็นต์ผ่านทางเน็ตเวิร์ก NAS นั้นจะสามารถทำงานได้ดีกับระบบที่ต้องส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ เนื่องจากแพ็กเก็ตนั้นจะมีขนาดเล็กมากจนระยะไม่มีผลต่อข้อมูล สามารถส่งข้อมูลทีละน้อยๆ ได้ หรือมีผลกระทบน้อยมากในขณะส่งข้อมูล และยังสามารถให้ความปลอดภัยได้ในระดับของไฟล์ เนื่องจากตัวของไฟล์เองนั้นจะถูกล็อคไว้โดยแอพพลิเคชัน ดังนั้นหากจะแก้ไขค่าใดๆ ในระบบจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ


ข้อได้เปรียบของ NAS


NAS นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการแชร์ไฟล์ เช่น NFS ในยูนิกซ์ หรือ CIFS ในวินโดวส์ เอ็นที โดยสามารถส่งไฟล์ข้อมูลไปให้กับหลายๆ ไคลเอ็นต์ โดยที่มีการป้องกันในเรื่องความปลอดภัยได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของแอพพลิเคชันที่ควรใช้ NAS เพื่อประสิทธิภาพการทำงานมี 2 แอพพลิเคชันคือ ระบบไดเรกทอรี่และเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทั้งสองแอพพลิเคชันนี้มีการดึงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ แจกจ่าย หรือไปสร้างเว็บเพจนั้นเองและสำหรับในองค์กรที่มีการใช้ฐานข้อมูล มีการเข้าถึงข้อมูลแบบอ่านอย่างเดียว (จำกัดสิทธิ์) มีผู้ใช้งานน้อย ระบบ NAS จะสามารถช่วยการลดค่าใช้จ่ายขององค์กรแบบนี้ลงได้เช่นกัน

0 comments:

Post a Comment