ทำความรู้จัก Hyper-V Replica (HVR)
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับบทความนี้ถือว่าเป็นการลัดคิว เพราะผมตั้งใจว่าจะทำการรีวิวฟีเจอร์ของ Hyper-V ใน Windows Server 2012 ก่อน แล้งจึงตามด้วยเรื่องของ Hyper-V Replica แต่เนื่องด้วยมีหลาย ๆ ท่านส่งเมล์หรือสอบถุามกันมามาก ผมจึงของหยิบเอา Hyper-V Replica มาเล่าให้ทุกท่านได้ทราบกันก่อนนะครับ
Hyper-V Replica หรือ HVR เป็นฟีเจอร์ใหม่และน่าสนใจมากใน Windows Server 2012 ครับ วัตถุประสงค์ที่ผมหยิบเอาฟีเจอร์นี้มาเล่่าในรายละเอียดให้ทุกท่านได้ทราบกัน ส่วนหนึ่งเพราะว่า ช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสติดตั้งและใช้งานฟีเจอร์นี้ที่ Site ของลูกค้า และมีหลายท่านได้สอบถามผมเกี่ยวกับเจ้า Hyper-V Replica ว่าคืออะไรและสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับองค์กรได้มากหรือน้อยแค่ไหน หรือสามารถนำมาใช้ประกอบกับแผนของ Business Continuity และ Disaster Recovery ได้หรือไม่อย่างไร อีกทั้งยังมีหลาย ๆ ท่านที่ยังสับสนกับคำว่า High Availability (HA) กับ Disaster Recovery (DR) มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยครับผม
มาทำความรู้จักกับ Hyper-V Replica (HVR)
ผมขอเริ่มด้วยการอธิบายเรื่องของ High Availability (HA) กับ Disaster Recovery (DR) เนื่องด้วยยังมีหลาย ๆ คนยังสับสน บางคนคิดว่าสองเรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาเวลาที่จะทำการวางแผนและออกแบบระบบ Virtualization (Hyper-V) รวมถึง Private Cloud เพราะในความเป็นจริงแล้ว HA และ DR เป็นโซลูชั่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการคนละส่วนกันครับ เช่น ในกรณีของ HA จะเป็นเรื่องของการที่เราวางแผนและออกแบบระบบให้สามารถให้บริการหรือ Availability ให้กับผู้ใช้งาน ดังนั้นเวลาที่เราออกแบบระบบ Virtualization (Hyper-V) หรือ Private Cloud เราจะต้องดูและพิจารณาว่ามีจุดใดบ้างที่เป็น Single Point Of Failure บ้าง ตัวอย่างเช่น Physical Servers ที่นำมาติดตั้งเป็น Hyper-V นั้น Hard Disk ที่อยู่ใน Physical Server หากมีเพียงแค่ลูกเดียว หากเกิดความเสียหายขึ้นกับ Hard Disk ลูกดังกล่าวก็จะส่งผลให้ Hyper-V ไม่สามารถทำงานหรือให้บริการได้ ดังนั้นเราจึงต้องมองหาโซลูชั่นหรือเทคโนโลยีที่จะทำอย่างไรให้ Hard Disk ที่อยู่ใน Physical Server ที่ทำหน้าที่เป็น Hyper-V นั้นสามารถทำงานต่อได้ถึงแม้ Hard Disk เสียหาย โซลูชั่นหรือเทคโนโลยีที่ว่านี้คือ การทำ RAID สำหรับ Hard Disk เช่น ผมทำการเพิ่ม Hard Disk เข้าไปอีก 1 ลูก จากเดิมที่มีลูกเดียว โดยเมื่อผมทำ RAID ให้กับ Hard Disks แล้ว หากเกิดเหตุการณ์ที่ Hard Disk ลูกใดลูกหนึ่งเสียหาย
ระบบหรือ Hyper-V ก็ยังสามารถทำงานต่อได้ คอนเซปแบบนี้เรียกว่าการทำ Availability เพื่อตอบโจทย์หรือความต้องการที่ระบบยังคงสามารถทำงานต่อได้ ถึงแม้ว่ามี Hardware เสียหาย หลังจากที่เราทำ Availability ในส่วนที่เป็น Hardware แล้ว สิ่งต่อมาเราจะต้องมาดูและพิจารณาการทำ HA กับ Hyper-V ครับ โดยใน Windows Server 2012, Hyper-V มีฟีเจอร์ที่รองรับการทำ Hyper-V HA อยู่แล้ว นั่นคือ การทำ Live Migration ซึ่งใน Windows Server 2012 มีหลายรูปแบบครับ แต่ยังคงมีวัตถุประสงค์เหมือนเดิมคือ เมื่อ Hyper-V เกิดเสียหายขึ้น Virtual Machines ที่รันหรือทำงานอยู่ใน Hyper-V ตัวดังกล่าว ก็จะถูกย้ายไปรันหรือทำงานที่ Hyper-V อีกตัวหนึ่งโดยอัตโนมัติ โดยไม่มี Downtime ครับ
สำหรับ DR นั้นเป็นโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการของการทำ Recovery หากเกิดความเสียหายกับระบบทั้งหมด เช่น ระบบที่รันหรือทำงานที่ Site หลัก เกิดล่มหรือเสียหาย งานต่างๆ จะต้องถูกย้ายไปรันและทำงานที่ Site สำรอง เช่นกันกับระบบ Virtualization (Hyper-V) เราสามารถทำการ Replicate Virtual Machines จาก Site หลักมาที่ Site สำรอง หาก Virtual Machines ที่รันและให้บริการอยู่ที่ Site หลักเกิดมีปัญหา ท่านผู้อ่านสามารถสั่งรัน Virtual Machines ที่ได้ทำการ Replicated มาก่อนหน้านี้ให้ทำงานแทนได้ครับ ฟีเจอร์ของ Hyper-V ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวนี้คือ Hyper-V Replicas ครับ โดยเราสามารถทำการติดตั้ง Hyper-V Replicas ได้เพียงแค่เรามี 2 Hyper-V Servers และไม่สำคัญว่า Servers ดังกล่าวจะตั้งอยู่ที่ไหน จะอยู่ที่เดียวกันหรือคนละที่ก็ได้ครับ สิ่งสำคัญที่ Hyper-V Replicas ต้องการคือ Hyper-V Servers เหล่านั้น จะต้องมีการเชื่อมต่อหรือสามารถติดต่อกันได้, มี Storage หรือพื้นที่เพียงพอสำหรับเก็บ Copy ของ Virtual Machines ที่ได้ทำการ Replicated มา และมี Network Bandwidth เพียงพอสำหรับการทำ Replication สำหรับการทำ Replication ของ Hyper-V Replica นั้นมีความยืดหยุ่นมาก โดยสามารถที่จะทำการ Replicate Virtual Machines ที่อยู่ใน Cluster หนึ่งไปอีก Cluster หนึ่ง หรือไปที่ Stand-Alone Hyper-V ก็ได้
เพราะฉะนั้นในการทำงานจริงเราจะต้องทำการวางแผนทั้ง HA ก่อนจากนั้นค่อยต่อด้วย DR ครับ และที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่งนอกเหนือทั้งการทำ HA และ DR แล้ว คือเราจะต้องมีการวางแผนการสำรองข้อมูล เพื่อตอบโจทย์และความต้องการสำหรับการปกป้องข้อมูลเสียหาย (Data Loss) ด้วย มาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็น HA, DR และการสำรองข้อมูลแต่ละโซลูชั่นจะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับความต้องการที่แตกต่างกัน แต่อยู่ที่ผู้ดูแลระบบหรือที่ปรึกษาทางด้านไอทีว่าจะวางแผนและออกแบบอย่างไรครับ
มาถึงตรงจุดนี้ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านพอจะเห็นภาพและเข้าใจคอนเซปต่างๆ ของ HA, DR และอื่นๆ ตามที่ผมได้อธิบายไปแล้วในข้างต้น สำหรับในตอนหน้าผมจะเริ่มเข้าสู่เรื่องราวของ Hyper-V Replica (HVR) โปรดติดตามกันนะครับผม
Tuesday, August 13, 2013
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment