Thursday, August 15, 2013

Windows Server 2008 File Server

Windows Server 2008 File Server

การติดตั้งวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server)
ไฟล์ เซิร์ฟเวอร์ (File Server) นั้น เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ โดยในวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 นั้น ยังสามารถทำการกำหนดปริมาณการใช้งาน (Quota) พื้นที่เก็บข้อมูลของแต่ละยูสเซอร์ได้อีกด้วย โดยการติดตั้งให้วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ทำหน้าที่เป็น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) นั้นทำได้โดยการเพิ่ม Role ให้กับ Server จากหน้าต่าง Server Manager เมื่อเพิ่ม Role เสร็จแล้ว จะมีลิงค์ File Services บนหน้าต่าง Server Manager ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังหน้าต่างสำหรับใช้จัดการการแชร์ Folder

การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็น File Server
การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ให้เป็น File Server นั้น มี 2 ขั้นตอนดังนี้

• การติดตั้งบริการ File Services
1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start แล้วคลิก Server Manager
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Add Roles ซึ่งจะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Roles Wizard: Before You Begin
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Before You Begin ให้คลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Server Roles ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ File Services แล้วคลิก Next



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ File Services ให้คลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Role Services ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ File Server แล้วคลิก Next



7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Installation Selections คลิก Install
8. รอจนระบบทำการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Results คลิก Close ซึ่งจะกลับไปยังหน้าต่าง Server Manager

• การแชร์โฟลเดอร์
1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ File Services
2. ในคอลโซลทรีของ Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า File Services
3. คลิกขวาที่ Share and Storage Management แล้วเลือก Povision Share... ซึ่งจะได้หน้าต่าง Povision a Shared Folder Wizard



4. ในหน้าต่าง Shared Folder Location ให้พิมพ์ฟูลพาธของโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ในช่อง Location หรือคลิก Browse แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ เสร็จแล้วคลิก Next





5. ในหน้า NTFS Permission หากไม่ต้องการแก้ไขเพอร์มิสชันให้เลือก No, do not change NTFS permissions หากต้องการแก้ไขเพอร์มิสชันก็ Yes, change NTFS permissions จากนั้นคลิก Edit permission แล้วทำการแก้ไขค่าเพอร์มิสชันตามต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next
6. ในหน้า Share Protocols ให้เลือกโปรโตคอลที่ต้องการซึ่งจะมีให้เลือก 2 ค่าคือ SMB และ NFS (โปรโตคอล NFS นั้นจะต้องทำการติดตั้งก่อนจึงจะใช้งานได้) จากนั้นใส่ชื่อของแชร์โฟลเดอร์ (เช่น public) ในช่อง Share name: เสร็จแล้วคลิก Next



7. ในหน้า SMB Settings ให้คลิก Next (หากต้องการกำหนดค่าขั้นสูงซึ่งจะเป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับ User Limits และ Caching ให้คลิกที่ Advanced แล้วทำการคอนฟิกตามความต้องการใช้งาน)



8. ในหน้า SMB Permisson ซึ่งจะเป็นการคอนฟิกเพอร์มิสชันการแอคเซสแชร์ผ่านทางเน็ตเวิร์ก ให้เลือกคอนฟิกแชร์เพอร์มิสชันที่ต้องการใช้งาน เสร็จแล้วคลิก Next
9. ในหน้า DFS Namespace Publishing ให้คลิก Next
10. ในหน้า Review Settings and Create Share ให้คลิก Create
11. ในหน้า Confirmation ให้คลิก Close เพื่อกลับไปยังหน้าต่าง Server Manager

มา ถึงตรงนี้ก็จะสามารถทำการติดตั้ง File Services และทำการสร้าง Shared Folder บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว หากต้องการสร้างแชร์โฟลเดอร์เพิ่ม ก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1-11 อีกครั้ง

• การจัดการแชร์โฟลเดอร์
การจัดการแชร์โฟลเดอร์ เช่น การแก้ไข Permission หรือ การแก้ไข User Limitts นั้น มีขั้นตอนดังนี้
1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ File Services
2. ในคอลโซลทรีของ Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า File Services แล้วคลิก Share and Storage Management



3. ในดีเทลแพนด้านขวามือ ให้คลิกขวาที่ Shared Folder แล้วเลือก Properties



4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Share Properties ให้ทำการคอนฟิกตามความต้องการใช้งาน โดยจะมี 2 แท็บ คือ Sharing และ Permission เมื่อทำการคอนฟิกเสร็จแล้วคลิก OK





การใช้งานไฟล์เซิร์ฟเวอร์จากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์
การใช้งานไฟล์เซิร์ฟเวอร์จากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายนั้น สามารถทำได้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

• การเข้าใช้งานโดยตรงผ่านทางชื่อแบบ Universal Naming Convention (UNC name) คือ ชื่อเต็มของทรัพยากรบนระบบเครือข่าย ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบ \\Server name\sharename เมื่อ Server name คือ ชื่อของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และ sharename คือ ชื่อของทรัพยากรที่แชร์อยูบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนระบบเครือข่าย มีวิธีการดังนี้
1. คลิกที่ Start แล้วคลิก Run
2. พิมพ์ชื่อ UNC ของ share folder ที่ต้องการในช่อง Open เสร็จแล้วกด Enter
3. วิธีการใช้งานนั้นเหมือนการใช้งานโฟลเดอร์ธรรมดาทุกประการ

• การเข้าใช้งานโดยวิธีการแม็พไดรฟ์จากระบบเครือข่าย (Map Network Drive) มีวิธีการทำดังนี้
1. คลิกที่ Start แล้วคลิก My computer
2. ที่เมนูบาร์คลิก Tools แล้วเลือก Map Network Drive
3. พิมพ์หรือเลือกชื่อไดรฟ์ที่ต้องการในช่อง Drive:
4. พิมพ์ชื่อ UNC ของ share folder ที่ต้องการในช่อง Folder: หรือคลิกบราวส์แล้วเลือก share folder ที่ต้องการแล้วคลิก OK
5. เสร็จแล้วคลิก Finish
6. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ User name and password ใส่ชื่อยูสเซอร์ในช่อง Username และใส่รหัสผ่านในช่อง Password เสร็จแล้วคลิก OK
7. วิธีการใช้งานนั้นเหมือนการใช้งานไดรฟ์ Local ทุกประการ

หมายเหตุ
- หากต้องการให้วินโดวส์จำยูสเซอร์เนมและรหัสผ่านโดยอัตโนมัติในการใช้งานครั้งต่อไป ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Remember my password
- หากต้องการให้วินโดวส์ใช้ยูสเซอร์เนมและรหัสผ่านโดยอัตโนมัติในการใช้งาน ครั้งต่อไป ให้เลือกเช็คบ็อกซ์ Don't ask for this password again

• การใช้คำสั่ง net use แม็พไดรฟ์จากคอมมานด์ไลน์ มีวิธีการทำดังนี้
1. เปิดคอมมานด์ไลน์ โดยการคลิก Start คลิก Run พิมพ์ cmd เสร็จแล้วกด Enter
2. ในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมพ์พิมพ์ [net][space][use][space][X:][space][\\Server name\sharename] เสร็จแล้วกด Enter

หมายเหตุ
1. ทั้ง 3 วิธีนี้ กระทำบนเครื่องไคลเอ็นต์ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กพีซ์
2. ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย [ ]
3. space = ช่องว่าง
4. X: = ชื่อไดรฟ์ที่ต้องการแม็พ

Wednesday, August 14, 2013

Freenas Linux สำเร็จรูป สำหรับทำ แชร์ไฟล์ File Server (Samba) FTP server ภายในองค์กร

Freenas Linux สำเร็จรูป สำหรับทำ File Server (Samba) FTP server ภายในองค์กรณ์ และใช้ให้ โหลดบิตได้ ในตัว (Transmittion) + คู่มือ

ออกตัวก่อนนะครับว่าผมเองพึ่งทำ 2 วัน และก็ทำได้นิกเดียว(คือ แชร์ สิ่งที่ต้องการได้) เท่านั้นเองครับ มือใหม่เหมือนกัน

เกริ่น นิดหน่อย : เดิมที่จากกระทู้เก่าของผม คือผมทำ files server จาก XP Home ครับ(เพราะ license ถูก) แต่ปัญหาก็คือ Client สามารถ Access พร้อม ๆ กันได้แค่ 5 เครื่องเท่านั้น ผมจึงเปลี่ยนมาใช้ XP Pro (แพงขึ้นมาหน่อย แต่ไม่เท่า 2003 ถ้ากล้าลงทุนซื้อ 2003 ก็จบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 2 ตัวนี้ก็ยังไม่ได้ซื้อหรอกครับ คิดว่าทำได้แล้วถึงจะซื้อ คริ คริ ยิงฟันยิ้ม) ผลที่ออกมาคือ Client Access ได้ 10 Client ซึ่งก็ยังไม่พอ ครั้นจะซื้อ 2003 ก็หลายหมื่น เลยบ่ายหน้ามาหา linux ก็มาถามในบอร์ทนี้ล่ะครับ มีท่านผู้รู้แนะนำหลายตัว ที่ท่าน ๆ ถนัดกัน แต่บังเอิญบอกแค่ซื่อแล้วให้หาอ่าน Text เองก็เลยไม่สำมะเร็จสักที สุดท้ายก็ถามลุงปอน ลุงปอนแนะให้ใช้ FreeNAS ก่อนหน้านี้ลองลงอยู่หลายตัวครับประมาณ 10 ได้มั๊งแต่ไปไม่เป็น คราวนี้ก็ได้เทรนเนอร์แล้ว ทำตามที่ลุงปอนบอกครับ หัวข้อของผมอาจจะไม่มีอะไรแนบให้ดูเยอะนะครับ เพราะผมยังไม่เก่งครับ

    1. เริ่มต้นจาก download FreeNAS มาก่อน (ซึ่งมันก็มีเยอะ ๆ แหละ ถามพี่กุ๊ก ก็ได้ ให้เขาหาให้แล้วก็เลือกเอา) โอเคโหลดมาแล้ว เอ....ทำไม่มันแค่ 16M กว่า ๆ เองหวา เห็นตัวอื่น 600 - 700 โน่น บางตัวเป็น DVD แต่นั่นคือข้อดีครับ เล็กและง่าย(จริง ๆ )
   2. เขียนลงแผ่น(คงไม่ต้องอธิบายนะครับ)
   3. ติดตั้งครับโดยบูตจาก CD ที่เขียนมานั่นแหละ บูต ๆ ๆ เสร็จก็จะมีเมนูนับถอยหลัง(ถ้าจำไม่ผิดมันจะมี 6 ข้อมั๊งครับ) อาจะปล่อยให้มันนับ หรือกดข้อ 1 ก็ได้ครับ มีค่าเหมือนกันเพราะข้อ 1 เป็น Default รอบูตไปสักพัก ก็จะมีเมนู(อีกแระ) 9 ข้อครับ(ถ้าจำไม่ผิด อีกแระ) ให้เลือกข้อ 9 install ...... อะไรสักอย่างนี้ล่ะ ผมจำไม่ได้  เสร็จแล้วก็จะมีเมนูย่อยออกแนวกราฟฟิคเล็ก 6 ข้อ ผมเลือกข้อ 3 คือ เห็นมันบอกว่า install full ....... ก็เลยเอานี่แหละ full น่าจะดี คริ คริ แล้วมันก็ให้กด OK ก็กดเลยครับ แล้วมันก็จะให้เลือก CD ซึ่งมันก็มีตัวเดียวเลือกไงก็ได้ตัวเดี่ยว คริ คริ แล้วมันก็ให้เลือก HDD ที่จะติดตั้ง อันนี้สำคัญนะครับ ถ้ามี 2 ลูกแนะนำไม่มั่นใจให้ถอดอีกลูก เหลือไว้เฉพาะลูกที่จะติดตั้งครับ แต่ถ้ามั่นใจก็ใส่ไปเลย กี่ลูกก็ได้ครับ ขอให้เลือกให้ถูก เพราะมันจะแปลง partition เป็น FreeBSD อะไรสักอย่างนี่แหละ หากท่านมีข้อมูลเป็น NTFS มันอาจจะหาย หรือกู้ได้ก็ไม่รู้ แต่ของผมหายไปแล้ว 1 ลูก ดีที่มี backup เสร็จแล้วมันก็จะเริ่ม mount CD-ROM เสร็จมันก็ Install  ใช้เวลาชั่วอึดใจ มันก็จะบอกให้เอาแผ่น CD ออกแล้วกด Enter แล้ว เมนู กราฟฟิค 6 ข้อก็จะกลับมาหลอกหลอนท่านอีก คราวนี้ให้กด exit แล้วเมนู 9 ข้อก็จะกลับมา คราวนี้เลือกข้อ 7 หรือ 8 ครับผม มันจะถามยืนยันอีกที ก็เลือก OK เลยครับ เสร็จแล้ว ก็บูตใหม่ ก็จะมีเมนู(อีกแระ) ให้เลือกข้อ 1 หรือปล่อยไปเลยก็ได้ครับ มันจะเหมือนตอนบูตจาก Cd แรก ๆ นั่นแหละครับ เสร็จมันจะบอกว่ามันจะอยู่ที่ http://192.168.1.250 ครับ(ถ้าในระหว่างติดตั้งมีอะไรเกี่ยวกับ IPV6 ส่วนตัวผมไม่ได้ใช้ ผมจะไม่ติดตั้งนะครับ) เท่านี่ก็เสร็จสำหรับการติดตั้ง คราวนี้ก็เหลือ Config ครับ ไปกันต่อเลย
     4. Configuration  หาเครื่อง PC(เครื่องลูก) สักเครื่อง เสียบเข้าไปที่ สวิทซ์ ตัวเดียวกับ เจ้า FreeNAS ของเรา และตั้ง IP เครื่องเป็น 192.168.1.xxx(ในที่นี้ ไม่ใช่ 999 นะครับไม่ใช่ขายเสื้อผ้าครับ คริ คริ) ถ้าจำไม่ผิดน่าจะ 0-245 มั๊งครับ ส่วนตัวผมชอบเลขเป็น ผมเลยตั้งเป็น 192.168.1.88 ครับ เสร็จก็เรียก Internet Explorer ขึ้นมา พิมพ์ในช่อง Address เป็น http://192.168.1.250 ครับ มันก็จะเข้าสู่หน้าข้อ FreeNAS โดยถาม Password ก็ให้ใส่ User เป็น admin และ Password เป็น FreeNAS ก็จะเข้าสู้หน้าหลักของ FreeNAS ซึ่งสิ่งที่ผมต้องการคือ Files Server ดังนั้น
        4.1 ผมจึงมุ่งหน้าไปที่หัวข้อ Disk แล้วเลือก Managment(อาจจะพิมพ์ ถูกบ้าง ผิดบ้างก็ให้อภัยกันนะครับ เอาความเข้าใจเป็นหลัก) กดที่เครื่องหมายบวกที่อยู่กลางจอครับ หน้าตาเมนูจะเปลี่ยนไป ผมเลือกที่จะเปลี่ยนมันแค่
             - DISK คือเลือก HDD ลูกที่เราจะ manag. หรือลูกที่เราจะแชร์นั่นแหละเอาง่าย ๆ
          - Performatted file system เพราะว่า HDD ลูกที่ผมจะใช้แชร์มันเป็น NTFS ในหัวข้อนี้ผมเลยเลือก NTFS ครับ อย่างอื่นไม่รู้เลย คริ คริ
       เสร้จก็กดที่ปุ๋ม Add แล้วก็กดที่ Apply Changes เช็คดู Status ถ้าขึ้น online เป็นอันเสร็จครับ
         4.2 ไปที่หัวข้อ Disk แล้วก็เลือก Mount(เพราะว่า HDD ผมมีข้อมูลอยู่แล้ว ผมเลยไม่ใช้หัวข้อ Format นะครับขออนุญาต ข้าม) พอกด mount แล้วก็กด เครื่องหมาย + ที่อยู่กลางจอ หน้าจอจะเปลี่ยนครับ คราวนี้ ผมก็เปลี่ยนตามนี้ ครับ
                - Type ผมเลือกเป็น DISK (ก็ไม่รู้ว่ามันต่างกันอย่างไรนะครับแต่เข้าใจเอาเองว่าเราจะแชร์ DIsk ก็เลยเลือก Disk)
             - DISK อันนี้เลือกลูกที่จะแชร์ครับ ถ้ามีลูกเดียวก็จะมีอันเดียว หรือหลายลูกแล้วแต่เราจะทำ Managment มาครับ
                - Partition อันนี้ ผมเลือก MBR เพราะเคยได้ยินแต่คำนี้ อีกอันไม่รุ้จัก คริ คริ ไม่ได้ล้อเล่นนะครับ ผมไม่รุ้จริง ๆ
                - File System อันนี้เลือก NTFS เหตุเพราะ HDD ผมมีข้อมูลอยู่แล้ว และก็ทำมาเป็น NTFS ครับ
                - NAME อันนี้ชื่อแล้วแต่จะตั้งนะครับ ผมตั้งว่า SharFile
             - Description คำอธิบายครับ ตอนแรกผมว่าจะไม่ใส่ขี้เกียจพิมพ์ แต่มันบังคับครับ ต้องใส่ ผมเลยใส่ไปว่า For Share files
         เสร็จแล้วก็กด Add ครับ แล้วตามด้วย Apply Changes สังเกตถ้าได้ Status จะเป็น OK ครับผม
          4.3 มาถึงขั้นตอนการแชร์แระครับ เริ่มกันที่ เมนู Service ครับ
                4.3.1 เลือกเมนู Service แล้วเลือก CFS/SMB ครับ หน้าตาก็จะเปลี่ยนไป ผมแก้ไขดังนี้ ที่เมนู Settings คลิกเครื่องหมายถูกตรงช่องสีเหลี่ยนเล็ก ๆ ทางด้านขวามือครับ และแล้วผมเปลี่ยนแปลงตามนี้ครับ
                  -  Authentication ผมเลือกเป็น Anonymous เพราะเข้าใจว่า ใครก็สามารถเข้าได้ เพราะความขี้เกียจอีกนั่นแหละครับ ต้องไปตั้ง User เลยไม่อยากทำ
                  - Workgroup ผมก็เลือกที่จะตั้งให้ตรงกับ ของเครื่องวินโดว์ส ที่ผมเซ็ตไว้อยู่แล้วครับ ในที่นี้คือไม่ได้เปลี่ยนเลย เพราะผมใช้ Workgroup
              - Description อันนี้ก็โดนบังคับอีกแล้ว ผมก็ใส่ว่า Sharing data ครับ
         เสร็จแล้วก็กด Save and Restart ครับ
                 4.3.2 ถึงจุดไคล์แม๊ก ครับ ที่เมนู ที่แท๊บ Shares ครับ กดเครื่องหมาย + ที่กลางจอเช่นเคย ผมเปลี่ยนแปลงดังนี้ครับ
                  - Name ก็คือชื่อที่จะตั้งให้แชร์ ผมตั้งเป็น DataCenter ครับ
                  - Comment อันนี้ก็โดนบังคับอีกแล้ว ก็ใส่ไปเลยครับ เหมือน Description ครับ
                  - path อันนี้ก็คือ HDD และ Folder ที่เราตั้งไว้จะแชร์ครับ ก็เลือก path ตามสบายท่านเลย โดยกดที่ ช่องสี่เหลี่ยมด้านหลังที่มีเครื่องหมาย / ถ้าผมจำไม่ผิด
         เสร็จแล้วกด Save ครับ

เป็น อันว่าเสร็จขั้นตอนการทำ Files server ที่สามารถ Access ได้หลายเครื่องพร้อม ๆ กัน(ไม่รู้เท่าไรนะครับ แต่ผมลองแค่ 15 เครื่องต้องการแค่นั้นครับ)

        วิธีใช้ก็เหมือนกับท่านแชร์ใน Windows ครับ เข้าไปในเน็ตเวิร์คเลย จะ Map Drive หรือไม่ก็ตามสบายเลยครับ สุดท้ายหวังว่าจะเป้นประโยชน์ต่อสมาชิกหลาย ๆ ท่าน และคิดว่าคงจะพอตอบแทนกับความรู้ที่หลาย ๆ ท่านได้มอบให้ผมบ้างไม่มากก็น้อย สังคมแห่งการแบ่งปันครับ เสียดายที่เอารูปมาให้ดูไม่เป็น เพราะผมยังไม่เคยลองใช้ VMWARE เลยครับ แต่ก็พยายามอธิบายอย่างละเอียดแล้ว หากท่านใดอยากทำแล้วติดอะไรก็ PM มาได้นะครับ โปรเจคต่อไป ก็คือ Web Server และก็ Mail Server ครับ คงต้องรบกวนอีกหลายท่านทีเดียว อย่างไรเสีย ถ้าทำได้ ผมก็จะมาสร้างกระทู้ให้อ่านกันอีกครับ อาจจะน้ำเยอะไปหน่อยแต่คิดว่าคงเป็นประโยชน์ ครับผม ยิงฟันยิ้ม ท้ายสุด ไม่มีไรมากครับ แค่คำขอบคุณเท่านั้นพอครับ -

FreeNAS สามารถกำหนด User ในการเข้าใช้แต่ละ Folder

FreeNAS สามารถกำหนด User ในการเข้าใช้แต่ละ Folder ได้รึป่าว เช่น Folder IT สามารถเข้าได้เฉพาะ User ที่อยู่ใน GROUP IT เท่านั้น User Group อื่นไม่สามารถสามารถเข้าได้ ครับ



ตั้งหลักก่อนนะ...อธิบายเคร่าๆ
1. เมนูแรกคุณจัดการไดเร็กทรอรี่ให้เรียบร้อยก่อน จะแยกอย่างไร เช่น Public,Department,Section เป็นต้น
    หรืออาจแยกเป็น Partition (ผมจำไม่ได้แล้วรู้สึกหากแบ่งเป็น Directory กับ Partitions ตัวไหนมันจะมีข้อจำกัดในการให้สิทธิ์ในเมนูของ Services|CIFS/SMB|Settings
    ลองทดลองดูก่อน ไม่รู้ว่าเวอร์ชั่นปัจจุบันได้แก้ไขหรือยัง แต่คงไม่ใช้ Bug แค่ยังพัฒนาไม่หลากหลายมากกว่า)
2. ที่เมนู User/Group สร้างกรุ๊ปให้เรียบร้อยจะแยกตามข้อ 1 ก็ได้ (User สร้างที่หลังก็ได้สร้าง Group ให้เสร็จก่อน)
3. ผมใช้ตั้งแต่เวอร์ชั่น 5 หรือ 6 มั๊งจำไม่ได้แล้ว UP มาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน เอาซะว่าผมทำกับเวอร์ชั่น 5 แล้วกัน
    โดยการใช้ Command Line ให้สิทธิ์ (Permission) กับ Group  ในการอ่านเขียนว่าไดเร็กทรอรี่ไหน/Partitions ไหนได้บ้าง
***ทั้งนี้ทั้งนั้นเมนู CIFS/SMB เลือกการใช้การ Authentication ให้ถูกต้องด้วยครับ การเลือกหัวข้อย่อยๆ ด้วย
***จำ ได้เคร่าๆ แค่นี้แหละ -->ถ้าใช้เมนูหรือคอนฟิกผ่าน Browser แล้วมีข้อจำกัดไม่ตรงกับความต้องการของเรา (ยังเขียนไม่ครอบคลุมมั๊ง) ต้องใช้คอมมานไลน์ช่วยครับ
     จริงๆ อยากได้อย่างไร ก็มีรายการ ข้อเรียกร้องอยู่มั๊ง??? (เรียกถูกปล่าว น่าจะเรียกว่าเป็นแจ้งความประสงค์ดีกว่า)


ให้คลิก เลือก Share Data นั้นๆ ครับ แล้วก็เลือก Group ที่ต้องการ Allow ครับ

 ผมเข้าไปดูแล้วใน Sharing ไม่มีกำหนดครับว่าจะ Allow ให้ Group ไหนบ้างครับผมใช้ V.8.0


Packet analysis with WireShark

Packet analysis with WireShark

จากการที่ทำการ Enable service FTP เพื่อทำให้ตัว Free NAS เป็น FTP server และได้ทดลองใช้งาน FTP ในระบบที่จำลองขึ้นมา เราจะเห็นได้จาก packet ที่เราได้ทำการดักจับขึ้นมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่า ในการสร้าง connection ของ FTP นั้นจะทำการสร้าง connection ผ่าน protocol TCP โดยมีการทำ three way hand shake ในการสร้าง connnection

เริ่มต้นการใช้งาน FTP เราจะทำการ FTP ไปยัง FTP server ซึ่งเครื่อง client จะทำการติดต่อเครื่อง FTP server โดยเครื่อง client จะทำการเริ่มสร้างคอนเน็คชั่นซึ่งเป็น control connection ที่ port 21 เมื่อทำการสร้าง connection control ได้แล้วหลังจากนั้น FTP server จะทำการรับการ log in จาก client เมื่อ client log in โดย user root FTP server ก็จะตอบกลับด้วย message 331 password require เพื่อให้ user ใส่ password ของ user root ให้ถูกต้อง จะเห็นได้ว่า การคุยกันในช่วงนี้ ของ client กับ server นั้นจะคุยกันผ่าน port 21 ของ server และ port 1140 ของ client
หลังจากเมื่อมีการสร้าง connection ได้แล้ว เมื่อ client ต้องการที่จะมีการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการไฟล์จากเครื่อง client ไปยังเครื่อง server หรือ จาก server มายังเครื่อง client นั้น ก็จะมีการสร้าง connection ใหม่ซึ่งจะแตกต่างจากการสร้าง connection แบบเดิมคือ จะเป็นการสร้าง connection จากทางฝั่งของ server ซึ่งการสร้าง connection นี้จะเป็นการสร้าง connection แบบ data connection
จากรูปจะเห็นได้ว่าการสร้าง data connection นั้นก็จะทำในลักษระ three way hand shake เช่นเดียวกัน การทำ control connection เช่นกัน แต่จะแตกต่างกันที่ control connection client จะเป็นผู้ร้องขอ แต่ data connection sever จะเป็นคนสร้าง connection มายัง client และใช้ port 20 ในการสร้าง connection
เมื่อสร้าง data connection ได้แล้ว client กับ server จะใช้ connection นี้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจนกว่าจะมีการปิด connection นี้ไป ส่วน control connection จะคงอยู่ตลอดจนกว่าจะมีการ ออกจาก FTP
iSCSI (Internet Small Computer System Interface)
การใช้การ iSCSI นั้นเริ่มต้นเครื่องจะทำการติดต่อกันโดยการทำ three way hand check บน protocol TCP เช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่าง packet ที่ได้ทำการทดลองและดักจับมาตรวจสอบดู
จะเห็นว่าเริ่มต้นการใช้งานนั้น client และ server จะทำการสร้าง connection โดยการทำ three way hand check และเมื่อทำการ connection ได้แล้วนั้นเครื่อง init หรือ client จะทำการ log in เพื่อเข้าใช้งาน iSCSI


จากภาพและ packet จะเห็นว่าในช่วงขอการ login ของ iSCSI ประกอบด้วยคำขอเข้าสู่ระบบและตอบรับซึ่งการ login นี้จะเป็นการที่เครื่อง client ทำการ initial กับตัว server ที่ให้บริการ iSCSI โดยในการ login จะมีการทำสองครั้ง ซึ่
งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อให้ได้การใช้งาน iSCSI






login ครั้งแรกเริ่มด้วยการส่งค่า initiator name ของเครื่อง
client และ Target name ของเครื่องที่ให้บริการ iSCSI

หลังจากนั้นเครื่องที่เป็น Target ก็จะส่ง message ตอบกลับมา
เมื่อได้รับ message ตอบรับเครื่อง client ก็จะส่ง login request ไปอีกครั้งเพื่อส่งรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติม

หลังจากนั้นเครื่อง Target ก็จะตอบกลับอีกครั้ง เพื่อยืนยัน

เมื่อผ่านกระบวนการในการตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆในขั้นตอนการ login แล้ว iSCSI ก็จะเปลี่ยน mode เป็น Full feature


การตั้งค่า FreeNAS ผ่าน WebGUI

Implementation

Topology






การตั้งค่า FreeNAS ผ่าน WebGUI
1. หลังจากติดตั้ง FreeNAS เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าถึง FreeNAS ผ่าน WebGUI ได้โดยพิม http://ipFreeNAS ซึ่งจากขั้นตอนการติดตั้งที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นจะได้ดังนี้ http://172.16.1.1 ดังรูปด้านล่าง





2. ทำการเพิ่ม storage ที่ติดต่อกับ FreeNAS โดยไปที่ Disks >> Management >> เครื่องหมาย + ดังรูป




3. Set ค่า storage ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปใน FreeNAS




1) เลือก Storage
2) ตั้งชื่อ Storage ดังกล่าว
3) เลือก File System ซึ่ง Disk นี้ต้องการนำไปแชร์ร่วมกับ client ที่เป็น Windowsจึง เลือกเป็น NTFS


4. ทำเหมือนกับข้อ 3 แต่เลือก File System เป็น UFS เนื่องจาก Disk นี้จะใช้กับ FreeNAS นี้





5. หลังจากทำการเพิ่ม disk เรียบร้อยแล้วจะแสดงสถานะดังรูป





6. ทำการ format disk โดยเข้าไปที่ Disk >> Format




1) เลือก disk ที่จะ format
2) เลือกรูปแบบ file ซึ่ง disk นี้จะใช้ร่วมกับ Windows จึงเลือกรูปแบบไฟล์ที่สอดคล้องกับ Windows
3) คลิก Format disk


7. ทำเหมือนกับข้อ 6 แต่เลือกรูปแบบไฟล์เป็น UFS ที่ใช้กับ FreeBSD






8. หลังจากเพิ่ม disk และ format disk เรียบร้อยแล้ว FreeNAS จะยังไม่เห็นสถานะของ disk ต้องทำการ mount disk ดังกล่าวนี้ก่อน โดยเข้าไปที่ disk >> mount point

1) เลือก disk ที่จะทำการ mount
2) เลือก partition type เป็น GPT partition
3) เลือกรูปแบบไฟล์เป็น UFS เพื่อให้สอดคล้องกับ FreeBSD
4) ตั้งชื่อ disk ดังกล่าว
5) คลิก Add

9. หลังจากทำการ mount disk เข้าไปแล้ว จะสามารถมองเห็น disk ดังกล่าวได้ โดยดูได้จาก Status >> System

การตั้งค่า iSCSI

1. เปิด service iSCSI Target ขึ้นมาก่อนโดยไปที่ Services >> iSCSI Target



1) เลือก enable เพื่อเปิด service ขึ้นมา
2) คลิกที่เครื่องหมาย + เพื่อ add disk ที่ต้องการทำ iSCSI Target
3) เลือก disk ที่จะทำ iSCSI Target
4) คลิก Add
5) คลิกเครื่องหมาย + ที่ Target เพื่อกำหนดชื่อ และ network ที่จะเข้าใช้ iSCSI Target
6) ตั้งชื่อ Target
7) ใส่หมายเลข network ที่ต้องการให้เข้าใช้ iSCSI Target
8) คลิก Add



2. คลิก apply change แล้ว copy ค่า Target Name เอาไว้ทำขั้นตอนต่อไป






3. เปิดโปรแกรม iSCSI Initiator ขึ้น แล้ว copy ค่า Initiator Node Name เอาไว้เพื่อทำขั้นตอนต่อไปเช่นกัน






4.ทำการ matching ค่าที่ copy เอาไว้โดยไปที่ Disk >> Management >> iSCSI Initiator




1) ตั้งชื่อ iSCSI Initiator
2) นำค่า Initiator Node Name ที่ copy ไว้ในข้อที่ 3 มาใส่ที่ Initiator Name
3) นำค่า Target Name ที่ copy ไว้ในข้อที่ 2 มาใส่ที่ Target Name
4) ใส่หมายเลข ip address ของ FreeNAS
5) คลิก Add


5.เปิดโปรแกรม iSCSI Initiator ขึ้นมาอีกครั้ง ดังรูป




1) คลิกที่แท็บ Discovery
2) จากนั้นคลิก Add เพื่อระบุ iSCSI Target
3) ใส่ ipaddress ของ FreeNAS
4) คลิก OK


6. ทำการ Log On เข้ากับ iSCSI Target




1) คลิกที่แท็บ Target จะเห็นว่าสถานะของ iSCSI Target ยังเป็น Inactive อยู่
2) คลิก Log On
3) เลือก Automatically restore this connection when the system boot
4) คลิก OK


7.หลังจากทำขั้นตอนที่ 6 เสร็จสถานะจะเปลี่ยนเป็น active และเมื่อไปที่แท็บ Persistent Targets จะเห็น iSCSI Target Name





8.เมื่อไปที่ My Computer จะเห็น Drive อีก Drive active ขึ้นมา และมีขนาดตรงกับ Disk ที่ FreeNAS ที่เปิด iSCSI Service ไว้นั่นเอง


Technology ที่เกี่ยวข้อง iSCSI Technology

Technology ที่เกี่ยวข้อง

iSCSI Technology

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ในองค์กรส่วนใหญ่ จะใช้คอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายเข้ามาจัดการกับข้อมูล การที่เราสามารถเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพตลอด เวลาโดยไม่มีปัญหาใดๆ นั่นหมายถึงการได้เปรียบและเป็นต่อทางการค้า ดังจะเห็นได้จาก เทคโนโลยีด้านการเก็บข้อมูลที่เปลียนแปลงอย่างก้าวกระโดด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาในอดีต ตัวอย่างเช่น เริ่มมีการใช้ Serial ATA (S-ATA) เป็นช่องทางสื่อสารระหว่าง ฮาร์ดดิสก์มีความเร็วอยู่ที่ 150 MB/sec และมีการพัฒนา Serial ATA2 (S-ATA2) ซึ่งมีความเร็วอยู่ที่ 300 MB/sec เพื่อลดปัญหาคอขวดที่เกิดกับ CPU ความเร็วสูงๆ ซึ่งมีใช้อยู่ในตลาดขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้โครงสร้าง InfiniBand เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างระบบคลัสเตอริ่ง และมีการใช้เทคโนโลยีสวิตช์แบ็กเพลนแบบฝังในตัวด้วย มีการพัฒนาโครงสร้างซีเรียลบัสแบบใหม่ออกมาชื่อ PCI Express ซึ่งเป็นบัสประสิทธิภาพสูง เข้ามาแทนที่ PCI เดิม ทำให้สามารถเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า 1000 MB/sec ขึ้นไป มีอุปกรณ์แบบ Object-Based Storage Dencous (OSD) ซึ่งอุปกรณ์ประเภทนี้ จะทำงานได้อย่างชาญฉลาดและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากที่กล่าวไปแล้วก็ยังเทคโนโลย iSCSI ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ Internet Protocol(IP)อีกด้วย






What is iSCSI ?
iSCSI ย่อมาจาก Internet Small Computer System Interface ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลใหม่ล่าสุดซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มวิศวกรของ IETF (Internet Engineering Task Force)และMicrosoft เป็นระบบมาตรฐานที่ช่วยให้องค์กรสามารจัดเก็บ เรียกใช้และจัดการข้อมูลได้ จากระยะไกลๆ โดยไม่คำนึงถึงสถานที่ ซึ่งเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายด้วยความเร็วที่สูง โดย iSCSI จะอนุญาตให้ ส่งคำสั่ง ( SCSI Command) ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ ผ่านแพ็กเก็ต TCP/IP ซึ่งเป็นโปรโตคอลหลักของระบบเน็ตเวริ์กที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ซึ่ง iSCSI ที่ใช้ในระบบ SAN ของ Promise จะเป็นรุ่น VTrak 15200 มาพร้อมกับเทคโนโลยี PerfectRAID ช่วยเก็บ , ป้องกันการ Error ของข้อมูล และ กู้ข้อมูลกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย 15 drive bays , 2 iSCSI , Fully redundant, มี data cache 256 MB ซี่งสามารถอัพเกรดได้ถีง 512 MB มี Power supply 2 ตัว ที่ช่วยกันทำงาน มีแบตเตอรี่สำรองไฟ 72 ชั่วโมง ช่วยให้ระบบมีเสถียรภาพมากยิ่งขี้น อุปกรณ์ต่างๆ ใน Vtrak 15200 นี้ มีคุณสมบัติ Hot Swap ในตัวทุกชิ้น กล่าวคือ สามารถถอด เข้า-ออก ได้ในขณะเปิดเครื่อง โดยที่ข้อมูลและอุปกรณ์ ไม่เสียหาย นอกจากนี้ยังสนับสนุน Parallel ATA ( optional adapter)

FTP (File Tranfer Protocol)
FTP เป็นเซอร์วิสที่ทำงานบนโปรโตคอล TCP/IP ในการติดต่อและรับส่งข้อมูลกับ client โดยใช้พอร์ต 2 พอร์ต คือ พอร์ตรับคำสั่ง และพอร์ตข้อมูล โหมดของ FTP สามารถแบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ Active Mode และ Passive Mode ซึ่งจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน



ใน active mode ของ FTP ไคลเอ็นต์จะเชื่อมต่อจากพอร์ตแบบสุ่มที่มีค่าพอร์ตมากกว่า 1023 มาที่พอร์ต 21 ของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นพอร์ตรับคำสั่ง (พอร์ต N>1023 จากรูปจะสมมติให้ N=1026) แล้วส่งคำสั่งซึ่งจะบอกให้เซิร์ฟเวอร์ทราบหมายเลขพอร์ตที่จะใช้ในการรับส่ง ข้อมูลกับเครื่องไคลเอ็นต์ (พอร์ต N+1) จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะตอบสนองคำสั่งโดยจะส่ง acknowledge จากพอร์ต 21 กลับไปยังพอร์ต N ของเครื่องไคลเอ็นต์ แล้วจึงทำการเชื่อมต่อจากพอร์ต 20 ซึ่งเป็นพอร์ตข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์ไปยังพอร์จ N+1 ของเครื่องไคลเอ็นต์ ในขั้นตอนท้ายสุด ไคลเอ็นต์จะตอบสนองการเชื่อมต่อจากเซิร์ฟเวอร์โดยจะส่ง acknowledge กลับไปยังพอร์ต 20 ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คำสั่งจากเครื่องไคลเอ็นต์จะส่งไปที่พอร์ต 21 ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะรับส่งข้อมูลกับเครื่องไคลเอ็นต์ผ่านทางพอร์ต 20
ปัญหา หลักของการทำงานในโหมดนี้ ก็คือ เครื่องไคลเอ็นต์ที่ติดตั้งไฟร์วอลล์ไว้ อาจจะไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลจากพอร์ต 20 กลับไปที่พอร์ต N+1 ซึ่งพอร์ตดังกล่าวเป็นแบบสุ่ม ซึ่งโดยทั่วไปมักจะบล็อคไว้
วิธีแก้ไข คือจะต้อง allow packet ทั้งหมดที่มาจากพอร์ต 20 ของเครื่องภายนอก แต่วิธีนี้ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยภายในองค์กรอีกเช่นเดียวกัน
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมีการพัฒนารูปแบบการเชื่อมต่อของ FTP ขึ้นมาอีกแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า Passive Mode
หลักการทำงานในโหมดนี้ ก็คือ


การ ทำงานในโหมดนี้จะเริ่มจากไคลเอ็นต์เชื่อมต่อจากพอร์ตแบบสุ่ม N>1023 ไปที่พอร์ต 21 ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และส่งคำสั่ง PASV ไปที่เซิร์ฟเวอร์
เมื่อ เซิร์ฟเวอร์ได้รับคำสั่งจะสุ่มพอร์ตสำหรับใช้เป็นพอร์ตข้อมูล สมมติให้เป็นพอร์ต P>1023 จากรูป พอร์ต P=2024 จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะส่งหมายเลขพอร์ต P ดังกล่าวกลับไปที่พอร์ต N ของเครื่องไคลเอ็นต์
เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์รับทราบ ไคลเอ็นต์จะเชื่อมต่อจากพอร์ต N+1 ไปที่พอร์ต P ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะส่ง Acknowledge กลับไปยังพอร์ต N+1 ของเครื่องไคลเอ็นต์ คำสั่งจากเครื่องไคลเอ็นต์จะส่งไปที่พอร์ต 21 ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะรับส่งข้อมูลกับไคลเอ็นต์ผ่่านทางพอร์ต P ที่เซิร์ฟเวอร์สุ่มขึ้นมา
ถึงตรงนี้ ก็คงจะเห็นภาพกันแล้วว่าใน Passive Mode การเชื่อมต่อจะเริ่มจาก client ก่อนเสมอ จึงขจัดปัญหาเรื่องไฟร์วอลล์ในส่วนของไคลเอ็นต์ไป แต่คำถามต่อมาก็คือ แล้วเซิร์ฟเวอร์ล่ะ จะควบคุมนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ของไฟร์วอลล์ได้อย่างไร ในเมื่อพอร์ตที่ใช้เป็นพอร์ตข้อมูลเป็นพอร์ตแบบสุ่มซึ่งมากกว่า 1023 แต่เป็นพอร์ตอะไรก็ได้ จะต้อง allow ทุกพอร์ตที่มีค่ามากกว่า 1023 เลยอย่างนั้นหรือ
คำตอบ คือ ไม่จำเป็นครับ เพราะ FTP Server แต่ละค่าย ก็จะมีวิธีในการกำหนด port range ที่จะใช้ในการสุ่มเป็นพอร์ตข้อมูลในการทำงานแบบ Passive Mode อยู่แล้ว แต่วิธีการก็จะแตกต่างกันไป ตามแต่ละค่าย ทีนี้เราก็แค่ allow เฉพาะพอร์ตที่อยู่ใน port range ที่เรากำหนดไว้เท่านั้น

FreeNAS เป็น Open Source Software FreeNas Introduction

FreeNas Introduction



FreeNAS เป็น Open Source Software ที่จำลองเป็น Network Attached Storage ตัวหนึ่งที่รองรับการทำงานเพื่อจำลองเป็น SMB หรือ iSCSI Server ให้สามารถใช้งาน Share ข้อมูลในส่วนกลางได้ทำให้สะดวกในการบริหารจัดการไฟล์ โดยใน FreeNAS ยังรองรับการทำงานเป็น iSCSI Server ได้เหมือนตัว Open filer อีกด้วย

ข้อดี

- บริการจัดการง่าย
- รองรับการใช้งานผ่าน USB ไม่จำเป็นต้องติดตั้งใน Hard disk
- มี Service ให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก

ข้อด้อย

- เมื่อใช้งาน iSCSI Server Service จะต้องใช้ RAM ไม่น้อยกว่า 256 MB
- การเพิ่ม Disk เข้า iSCSI Server จะต้องใช้ Hard disk ทั้งหมดที่มี อยู่ในก้อนนั้น ไม่สามารกแบ่งให้ Service อื่นใช้งานได้